หอยนางรม ถือเป็นอาหารทะเลจานโปรดของใครหลายๆ คนทั่วโลก เพราะเนื้อสัมผัสที่แตกต่าง มีรสชาติอร่อย นำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย สามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดและปรุงสุกในหลายเมนู อีกทั้งยังอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ แต่ต้องควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะสม เนื่องจากหอยนางรมมีปริมาณแคลอรีสูง

หอยนางรม

โปรตีน

รู้ไหมว่าหอยนางรมอุดมไปด้วยโปรตีนชั้นยอด ซึ่งหอยนางรมขนาดกลางตัวหนึ่งนั้นมีโปรตีนอยู่ 4 ถึง 5 กรัม ขณะที่หอยนางรม 85 กรัม (หรือหอยขนาดกลางราว ๆ 6 ตัว) มีโปรตีนถึง 15 กรัม และมีแคลอรี่อยู่ที่ 50 เท่านั้น และนอกเหนือจากประโยชน์ของโปรตีนที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และดีกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งกระดูก กระดูกอ่อน ผิวหนังและกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยให้รู้สึกอิ่มท้อง

 

สังกะสี

สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายกว่า 300 ชนิด และช่วยเสริมสร้างกระบวนการของร่างกาย ทั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่าง ๆ รวมไปถึงรักษาแผล และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนหอยนางรม 85 กรัมอุดมด้วยสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวันได้ถึง 94% ซึ่งความอุดมด้วยธาตุสังกะสีนี่เองที่ทำให้หอยนางรมกลายเป็นวัตถุดิบขึ้นชื่อเรื่องปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ เพราะเป็นธาตุที่มีบทบาทช่วยในการเจริญพันธุ์ของเพศชายด้วยการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีบทบาทช่วยในการเจริญพันธุ์ของเพศชายด้วยการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

 

วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อระบบประสาทและการทำงานของสมอง ทั้งยังมีประโยชน์ต่อดีเอ็นเอและการผลิตเซลเม็ดเลือดแดง นั่นเป็นเหตุผลที่เมื่อร่างกายมีระดับวิตามินนี้ต่ำ เราจึงรู้สึกเหนื่อยหรือมีอาการมือเท้าชาและสมองไม่ปลอดโปร่ง การรับประทานหอยนางรมราว ๆ 6 ตัวสามารถเติมวิตามินนี้ที่ร่างกายต้องการได้เพิ่มเป็นสองเท่าทีเดียว

 

กรดไขมันโอเมก้า 3

ใครว่าแซลมอนจะเป็นพระเอกคนเดียวของงานนี้ แท้จริงแล้วหอยนางรมก็เปี่ยมไปด้วยกรดไขมันดีไม่แพ้กัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญกับการทำงานของสมอง รวมถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการ โอเมก้า 3 ยังสามารถช่วยเรื่องสุขภาพจิตและอารมณ์ ทั้งอาจมีส่วนช่วยจัดการกับภาวะซึมเศร้าได้ ยิ่งไปกว่านั้นโอเมก้า 3 ที่ว่ายังดีต่อร่างกายตรงที่ช่วยลดอาการบวมและอักเสบได้ โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่าอาจช่วยลดฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอล ซึ่งหอยนางรมประมาณ 6 ตัวให้กรดไขมันโอเมก้า 3 ได้ถึง 629 มิลลิกรัม และหากคุณมองหาเมนูหอยนางรมอร่อย ๆ เพื่อสุขภาพ เราขอแนะหอยนางรมตามธรรมชาติที่มักมีกรดไขมันดีมากกว่าแบบเลี้ยงในฟาร์ม

หอยนางรม

ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการรักษาระดับพลังงานให้คงที่โดยช่วยขนส่งออกซิเจนผ่านทางเลือดไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เชื่อกันว่าหอยนางรมมีฤทธิ์กระตุ้นยาโป๊ ซึ่งประโยชน์ต่อการไหลเวียนโลหิตจะส่งผลดีในห้องนอนอย่างแน่นอน การบริโภค 85 กรัม ให้พลังงาน 24% ของความต้องการในแต่ละวัน ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการรักษาระดับพลังงานให้คงที่ โดยช่วยขนส่งออกซิเจนผ่านเลือดไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่เชื่อกันว่าหอยนางรมมีฤทธิ์กระตุ้นยาโป๊ ซึ่งประโยชน์ต่อการไหลเวียนโลหิตจะส่งผลดีในห้องนอนอย่างแน่นอน

 

แมกนิเซียม และโปแตสเซียม

ทั้งแมกนิเซียมและโปแตสเซียมเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานเป็นระบบ และหากได้รับแร่ธาตุทั้งสองในปริมาณที่พอเพียงยังช่วยเรื่องความดันเลือดให้เป็นปรกติซึ่งส่งผลดีต่อหัวใจ โดยการรับปประทานหอยนางรมจำนวนที่กล่าวข้างต้นสามารถเติมแมกนิเซียมที่จำเป็นต่อร่างกายได้ราว ๆ 5% และ 4% สำหรับโปแตสเซียมได้อีกด้วย

 

ซีลีเนียม

ขณะที่เรารับประทานหอยนางรมอย่างเอร็ดอร่อย ร่างกายก็ได้รับซีลีเนียมเข้าไปพร้อมกัน ซึ่งซีลีเนียมเป็นธาตุที่มีบทบาทในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และมีส่วนในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ทั้งช่วยเรื่องระบบสืบพันธุ์และภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งยังมีหลักฐานว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยม และการรับประทานหอยนางรม 85 กรัมช่วยเติมเต็มซีลีเนียมที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ถึง 93% เชียว

 

กินอย่างไรให้อร่อยและได้ประโยชน์

เพื่อให้ได้สารอาหารและคุณประโยชน์ของหอยนางรมตัวอวบอย่างครบถ้วน ควรรับประทานแบบสด นึ่ง เผา หรืออบ แต่ระวังอย่าใส่เนยและโรยเศษขนมปังหนักมือไปเสียก่อน และการนำไปทอดในน้ำมันนั้นแม้ว่ารสชาติจะเย้ายวนชวนอร่อยเพียงใด แต่กลับลดคุณประโยชน์ ทั้งยังเป็นการเพิ่มแคลอรี่และไขมันอิ่มตัวที่ไม่จำเป็นให้กับร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำมันที่ใช้ทอดเช่นกัน

หอยนางรม

สรุปแล้ว

ยิ่งกว่ารสชาติแสนอร่อย หอยนางรมยังให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมายหากรับประทานในระดับที่พอดี ทั้งนี้ควรปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญถึงจำนวนที่ควรบริโภคอย่างพอเหมาะเพื่อความปลอดภัย

หมายเหตุ: บทความนี้ใช้ข้อมูลด้านสารอาหารของหอยนางรมแปซิฟิก ซึ่งอาจมีความแตกต่างเล็กน้อยไปจากหอยนางรมจากแอตแลนติก รวมไปถึงขึ้นอยู่กับที่มาว่ามาจากฟาร์มเลี้ยงหรือจากธรรมชาติ